พิธีลงนามในปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือปฏิญญากรุงเทพฯ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ความเป็นมาของอาเซียน
ความเป็นมาของอาเซียนอาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Assciation of
Southeast Asian Nations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ(The
Bangkok Declaration ) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง 5
ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก-เฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน
“ปฏิญญา
กรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration)
เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ
การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก
และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง
ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ
ของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี
บูรไนดารุสซาราม
(เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527)สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม
(เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538)
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
(เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า
(เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา
(เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542)
ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ
วัตถุประสงค์หลัก
ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆและองค์การระหว่างประเทศ
ตลอด
ระยะเวลา กว่า 40ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน
ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่าย
ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองเเละความมั่นคง
ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งประเทศไทยได้รับ
ประโยชน์อย่างมากจากความร่วมือต่างๆของอาเซียน
ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค เป็นเสถียรภาพและสันติภาพ
อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง
ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมือด้านสังคมและ วัฒนธรรม
ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้ว
คงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน
ครั้งที่ |
วันที่ |
ประเทศเจ้าภาพ |
สถานที่จัดตั้งการประชุม |
ครั้งที่ 1 |
23-24 กุมภาพันธ์ 2519 |
ประเทศอินโดนีเซีย |
บาหลี |
ครั้งที่ 2 |
4-5 สิงหาคม 2520 |
ประเทศมาเลเซีย |
กัวลาลัมเปอร์ |
ครั้งที่ 3 |
14-15 ธันวาคม 2530 |
ประเทศฟิลิปปินส์ |
มะนิลา |
ครั้งที่ 4 |
27-29 มกราคม 2535 |
ประเทศสิงคโปร์ |
สิงคโปร์ |
ครั้งที่ 5 |
14-15 ธันวาคม 2538 |
ประเทศไทย |
กรุงเทพมหานคร |
ครั้งที่ 6 |
15-16 ธันวาคม 2541 |
ประเทศเวียดนาม |
ฮานอย |
ครั้งที่ 7 |
5-6 พฤศจิกายน 2544 |
ประเทศบูรไนดารุสซาราม |
บันดาร์เสรีเบกาวัน |
ครั้งที่ 8 |
4-5 พฤศจิกายน 2545 |
ประเทศกัมพูชา |
พนมเปญ |
ครั้งที่ 9 |
7-8 ตุลาคม 2546 |
ประเทศอินโดนีเซีย |
บาหลี |
ครั้งที่ 10 |
29-30 พฤศจิกายน 2547 |
ประเทศลาว |
เวียงจันทน์ |
ครั้งที่ 11 |
12?14 ธันวาคม 2548 |
ประเทศมาเลเซีย |
กัวลาลัมเปอร์ |
ครั้งที่ 12 |
11?14 มกราคม 25501 |
ประเทศฟิลิปปินส์ |
เซบู |
ครั้งที่ 13 |
18?22 พฤศจิกายน 2550 |
ประเทศสิงคโปร์ |
สิงคโปร์ |
ครั้งที่ 14 |
27 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552
10-11 เมษายน 2552 |
ประเทศไทย |
ชะอำ, หัวหิน
พัทยา |
ครั้งที่ 15 |
23-25 ตุลาคม 2552 |
ประเทศไทย |
ชะอำ, หัวหิน |
ครั้งที่ |
8-9 เมษายน 2553 |
ประเทศเวียดนาม |
ฮานอย |
หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน
ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ
ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง
ความสัมพันธ์ระหว่างกัน
อันปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน
ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551
และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย
- การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
- สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
- หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
- ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
- การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
- ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก
นอกจากหลักการข้างต้นแล้ว
ตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงก่อนที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจและกำหนด
นโยบาย มาโดยตลอด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
การที่อาเซียนจะตกลงกันดำเนินการใดๆ
ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดทั้งสิบประเทศ จะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้นๆ
ก่อน
การที่อาเซียนยึดมั่นในหลัก ‘ฉันทามติ” และ
“การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน’
หรือที่ผู้สังเกตการณ์อาเซียนเรียกว่า ‘วิถีทางของอาเซียน’
(ASEAN’s Way)ในทางหนึ่งนั้น ก็ถือเป็นผลดีเพราะเป็นปัจจัย
ที่ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก
ในเรื่องระบบการเมือง
วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ มีความ ‘สะดวกใจ’
ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก และดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน
แต่ในอีกทางหนึ่ง“ฉันทามติและ
“การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน”ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหลาย
โอกาสว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระบวน
การรวมตัวกันของอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า
รวมถึงทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากถูกมองว่ากลไกที่มีอยู่
ของอาเซียน ล้มเหลว ในการจัดการกับปัญหา
ของอาเซียนเองที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกใดประเทศสมาชิกหนึ่งได้
อย่างไรก็ดี การยึดถือฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจ ของอาเซียน ได้เริ่มมี
ความยืดหยุ่นมากขึ้นหลังจากที่กฎบัตรอาเซียน
มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551 เนื่องจาก
กฎบัตรอาเซียนได้เปิดช่องให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน
พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องที่ประเทศสมาชิกไม่มีฉันทามติได้
กฏบัตรอาเซียน
เป็น
ร่างสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือ
ในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพกฎบัตรอาเซียน
เป็นร่างสนธิสัญญา
ที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียง
ใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวาง กรอบทาง กฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม
ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์
และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน
ภายในปี พ.ศ. 2558 ตามที่ผู้นำอาเซียน ได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ
จะมีการจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550
เพื่อเพิ่ม
ประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัว เป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ.
2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่าง
กฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550
ข้อมูลจากกระทรวงต่างประเทศ |